เมื่อพูดถึงใบเตย
เชื่อว่าคงแทบไม่มีคนไทยคนใดที่ไม่รู้จัก
เพราะเตยเป็นพืชที่คนไทยคุ้นเคย
นำมาใช้ประโยชน์กันมากมายหลายวิธีตั้งแต่โบราณมาแล้ว โดยเฉพาะการนำมาปรุงแต่งให้ขนมไทยมีกลิ่นหอม อร่อย
สีสันน่ารับประทาน
เตยมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน
แต่ที่เราคุ้นเคยและนำมาใช้ประโยชน์กันมากก็คือ เตยหอม
ซึ่งมีชื่อทางพฤษศาสตร์ว่า Pandanus odorus Ridl.
เตยเป็นพรรณไม้จำพวกเดียวกับหญ้า
ขยายพันธุ์จากหัวหรือเหง้าใต้ดิน
แตกเป็นกอใหญ่
ใบสีเขียวเป็นมัน ยาวประมาณ 8 – 10 นิ้ว
ขอบใบเรียว ปลายใบเรียวแหลม
คุณค่าทางอาหารและสรรพคุณ
ในใบเตยมีน้ำมันหอมระเหย เรียกว่า
Fragrant Screw Pine มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน
ซึ่งเป็นสาเหตุให้อาหารที่ใส่น้ำที่คั้นจากใบเตยมีรสหอมเย็นชื่นใจ ในทางการแพทย์แผนไทยแนะนำให้ผู้ที่มีธาตุไฟธาตุเจ้าเรือนรับประทานอาหารที่ปรุงจากใบเตยเพราะเตยมีรสหอมเย็น
นอกจากนำมาประกอบอาหารได้แล้ว เตยยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย เช่น
ใบ มีรสเย็นสบาย เป็นยาช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ต้นและรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ มีตำรับยาที่ให้นำใบเตยหอมมาต้มกับเนื้อไม้สักหรือใบสักแล้วดื่มน้ำ ช่วยแก้โรคเบาหวาน
โดยมีคำแนะนำในการใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดว่า ให้นำใบเตยหอม
32 ใบ ใบสัก
9 ใบ นำมาหั่นตากแดด แล้วนำมาชงน้ำร้อนแบบชา
หรือนำมาใส่หม้อดินต้มดื่มน้ำยาต่างน้ำทุกวัน หรืออาจใช้รากเตยหอมประมาณ 1
ขีด น้ำสะอาดประมาณ 1 ลิตร โดยนำรากเตยหอมสับเป็นท่อนๆ ใส่น้ำต้มหลังจากเดือดแล้วหรี่ไฟลง เคี่ยวต่อไปประมาณ 15 – 20 นาที ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว เช้า
กลางวัน เย็น
ทั้งนี้ต้องรับประทานยาตามสูตรใดสูตรหนึ่งอย่างน้อย 1
เดือน พร้อมกับมีการติดตามวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วย
นอกจากสรรพคุณที่ระบุไว้ในตำรายาไทยแล้ว
ยังมีการนำเตยหอมมาศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในห้องทดลองอีกด้วย
พบว่าสารสกัดน้ำของใบเตยหอมและรากเตยหอมมีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน
สารสกัดน้ำจากใบยังมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตและลดอัตราการเต้นของหัวใจซึ่งน่าจะตรงกับฤทธิ์ในการบำรุงหัวใจตามสรรพคุณยาไทยของใบเตย
นอกจากนั้นยังมีการนำใบเตยมาทำเป็นสูตรบำรุงผิวหน้า โดยนำใบเตยมาล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ปั่นรวมกับน้ำสะอาดจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน จะได้เนื้อครีมข้นและเหนียว นำมาพอกหน้า
(ก่อนพอกหน้าต้องทำความสะอาดหน้าให้สะอาดเสียก่อนนะคะ) ให้พอกทิ้งไว้
15 – 20
นาที จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด ให้ทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 3 – 4 ครั้ง
ประมาณ 1 เดือน
จะเห็นความแตกต่างที่เปลี่ยนไป
แต่วันนี้จะพามาดูประโยชน์จากใบเตยที่สามารถนำมาประยุกต์ ใครจะนำไปทำตามก็ไม่สงวนลิขสิทธิ์นะค่ะ
กระทง hand made by pat.. ^^
ทำเอง ลอยเอง มีความสุขที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น